English to Thai: BIOGAS PRODUCTION General field: Tech/Engineering | |
Source text - English BIOGAS PRODUCTION
Biogas is a mixture containing predominantly methane (50%–65% by volume) and carbon dioxide, and in a natural setting it is formed in swamps and anaerobic sediments, etc. Due to its high methane concentration, biogas is a valuable fuel. Wet (40%–95%) organic materials with low lignin and cellulose content are generally suitable for anaerobic digestion. Examples include agricultural materials like liquid manure, dung, fresh plants or plant parts (e.g. grass, sugar beet leaves), silages (e.g. from grass or maize), industrial residues from food processing like stillage (grains and liquid effluent remaining after distillation), pomace (the solid remains of fruit after pressing), whey, grease trap contents, and the organic fraction of municipal waste.
Due to this wide spectrum of raw materials, biogas production can either be used for energy production from agricultural land and for the utilization of waste streams and by-products in food processing, or bio-refineries.
Figure 1 shows a general schematic of an agricultural biogas plant, with the anaerobic digester at the ‘heart’ of it. Pre-treatment steps (e.g. chopping, grinding, mixing or hygienization) depend on the origination of the raw materials.
Downstream processing steps are rarely installed because the digester effluent can be used as a valuable liquid fertilizer – in order that this is used in accordance to fertilizing regulations, a storage tank for the material is needed. Some German agricultural biogas plants use gas-tight covered storage tanks, thus considerably reducing methane loss from the digester effluent into the atmosphere and increasing the amount of biogas for energy production.
Prior to its utilization, biogas has to be cleaned. Coming out of the digester, biogas is saturated with water which would cause corrosion problems upon condensation – it therefore has to be removed. Depending on the type of raw material in the biogas plant, hydrogen sulphide is also generated as a by-product in the microbial conversion process. Because of its corrosive character its concentration has to be reduced considerably too.
| Translation - Thai กระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพ
แก๊สชีวภาพประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก (50%-60% โดยปริมาตร) ปกติจะเกิดในสภาพที่ชื้นแฉะ และในตะกอนที่ทับถมกันจนไม่มีอากาศ เนื่องจากแก๊สชีวภาพมีความเข้มข้นของมีเทนสูง จึงจัดเป็นเชื้อเพลิงที่มีค่า
วัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการย่อยแบบไร้อากาศ คือ สารอินทรีย์แบบเปียกที่มีปริมาณลิกนินและเซลลูโลสน้อย เช่น วัตถุดิบจากการเกษตร ได้แก่ ปุ๋ยธรรมชาติ, มูลสัตว์, พืชหรือส่วนประกอบต่างๆของพืช(เช่น หญ้า, ต้นบีท, ใบไม้) พืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์(เช่น หญ้า, ข้าวโพด), วัสดุของเหลือจากอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ส่าเหล้า (กากและน้ำเสียจากการกลั่นแอลกอฮอล์), กากผลไม้(ของแข็งที่เหลือจากการคั้นผลไม้), โปรตีนในน้ำนม, ไขมันจากบ่อดักไขมัน, และสารอินทรีย์ต่างๆในขยะมูลฝอย
การผลิตแก๊สชีวภาพสามารถใช้วัตถุดิบได้หลากหลาย จึงมีการนำไปใช้ในการผลิตพลังงานจากอุตสาหกรรมการเกษตร และเพื่อนำของเสียและของเหลือจากกระบวนการผลิตอาหารมาใช้ให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งใช้ในระบบโรงกลั่นแบบชีวภาพ
ภาพที่ 1 แสดงให้เห็นระบบทั่วไปของโรงแก๊สชีวภาพสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งมีระบบหมักแบบไร้อากาศเป็นหัวใจสำคัญ ส่วนระบบบำบัดเบื้องต้น (เช่น การตัด การบด การผสม หรือการฆ่าเชื้อโรค) ขึ้นอยู่กับที่มาของวัตถุดิบ
ระบบบำบัดหลังการผลิตแก๊สชีวภาพแทบจะไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพราะน้ำเสียจากโรงหมักสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยแบบเหลวได้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นจะต้องมีถังเก็บเพื่อเก็บน้ำเสียให้ถูกต้องตามกฏหมาย โรงงานบางแห่งในเยอรมันใช้ถังเก็บแก๊สที่มีป้องกันการรั่วของแก๊ส ทำให้ลดการสูญเสียมีเทนที่ได้จากการหมักน้ำเสียสู่บรรยากาศภายนอก และช่วยเพิ่มปริมาณแก๊สชีวภาพเพื่อผลิตพลังงานอีกด้วย
ก่อนจะนำแก๊สชีวภาพไปใช้งาน จำเป็นจะต้องทำความสะอาด เนื่องจากแก๊สที่ออกจากระบบหมักนั้นอิ่มตัวด้วยไอน้ำ ซึ่งก่อให้เกิดการกัดกร่อนในระหว่างกระบวนการควบแน่น จึงต้องกำจัดออก นอกจากนี้ แก๊สไฮโดนเจนซัลไฟด์ยังถูกผลิตขึ้นจากกระบวนการหมักโดยแบคทีเรีย โดยขึ้นอยู่กับประเภทของวัตถุดิบที่ใช้ และแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์มีคุณสมบัติกัดกร่อน จึงต้องมีการกำจัดออกเช่นกัน
|